วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

รังสีอัลตราไวโอเลต: มีผลให้หนุ่มสาวส่วนใหญ่ประสบปัญหาการเสื่อมสภาพของผิวคล้ายผู้สูงอายุ



รังสีอัลตราไวโอเลต:
มีผลให้หนุ่มสาวส่วนใหญ่ประสบปัญหาการเสื่อมสภาพของผิวคล้ายผู้สูงอายุ




 ประเทศ ไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน จึงมีแสงแดดจัดเกือบตลอดปี ประชาชนจำนวนมากเกิดปัญหาด้านผิวพรรณ อันเนื่องมาจากการสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นประจำ เช่น ฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอยหมองคล้ำ อย่างไรก็ดี คนเอเชียรวมทั้งคนไทยส่วนใหญ่มีค่านิยมด้านความงามว่า สุภาพสตรีควรมีผิวขาวกระจ่างใสด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ครีมทาผิวขาวที่ช่วยให้ผิวขาว จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet radiation; UVR) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

1.   ยูวีเอ (UVA) ซึ่งมีความยาวคลื่น 315-400 นาโนเมตร ผ่านลงมาถึงพื้นโลกได้มากที่สุด
2.   ยูวีบี (UVB) มีความยาวคลื่น 280-315 นาโนเมตรและบางส่วนของรังสียูวีบี (UVB) ที่ผ่านลงมาถึงพื้นโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งยูวีเอ (UVA) และยูวีบี (UVB) จึงเป็นสาเหตุหลักของอันตรายจากแดด
3.   ยูวีซี (UVC) มีความยาวคลื่นระหว่าง 100-280 นาโนเมตร เป็นรังสีความคลื่นสั้นที่สุด มีพลังงานสูงสุด จึงเป็นอันตรายที่สุด แต่เนื่องจาก รังสีชนิดนี้ถูกดูดซับไว้โดยชั้นบรรยากาศเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ผ่านลงมาถึงพื้นโลก

อายุที่มากขึ้นผิวหนังย่อมเสื่อมไปตามวัยนั้น ซึ่งในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง พบว่า หนุ่มสาวส่วนใหญ่กำลังประสบปัญหาผิวเสื่อมสภาพของผิวคล้ายผู้สูงอายุ ซึ่งคงดีไม่น้อยถ้าสามารถดูแลรักษาผิวพรรณให้ดูสมวัย หรืออ่อนกว่าวัยได้ จากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะชั้นผิวหนังของผู้สูงอายุและวัยรุ่น พบว่า เซลล์ในชั้น basal layer (เป็นชั้นของเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตเซลล์ใหม่) มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ผู้สูงอายุจะมีชั้น epidermis (หนังกำพร้า: ผิวชั้นนอก) ที่บางจำนวนเซลล์น้อย และกระจายตัวอยู่อย่างหลวม แต่สำหรับชั้น epidermis (หนังกำพร้า: ผิวชั้นนอก) ในวัยรุ่น พบว่า มีความหนามากกว่าในผู้สูงอายุ และอัดแน่นเต็มไปด้วยเซลล์รูปร่างสมบูรณ์จำนวนมาก นอกจากปัจจัยอายุที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อความเสื่อมของเซลล์ผิวแล้ว สิ่งเร้าอื่นๆ  ยังส่งผลต่อเซลล์ผิวเช่นกัน อาทิ แสงแดด มลภาวะ ความเครียด เป็นต้น แต่ศัตรูสำคัญของผิวในปัจจุบัน คือ รังสี UV เนื่องจาก ภาวะเรือนกระจกส่งผลให้ปริมาณรังสี UV ที่ ผ่านชั้นบรรยากาศเข้าสู่พื้นผิวโลกมีมากขึ้น รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันที่อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หรือแม้แต่ ในอาคารที่มีหลอดไฟ หน้าจอคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ ต่างก็เป็นแหล่งของรังสี UV เช่นกัน ดังนั้น เมื่อผิวหนังได้รับรังสี UV ระยะเวลาหนึ่ง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกกระตุ้นให้หลั่งเอนไซม์ tryptase ซึ่งเอนไซม์นี้ จะย่อยสลายโปรตีนใน basement membrane และทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในชั้น basement membrane และทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในชั้น basal layer (เป็นชั้นของเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตเซลล์ใหม่) รวมถึง epidermal stem cell ซึ่งอยู่ในชั้น basal layer ของ epidermis ซึ่งมีผลทำให้ผิวหนังอ่อนแอลง

ดังนั้น จากที่กล่าวว่า รังสี UV เจ้าศัตรูตัวฉกาจของผิวหนัง เพราะนอกจากทำให้ผิวหนังอ่อนแอลง สูญเสียคุณสมบัติการเป็นเกราะป้องกันร่างกายตามธรรมชาติ เนื่องจาก ผลของเอนไซม์แล้ว ยังส่งผลต่อเซลล์โดยตรง โดยรังสี UV สามารถสร้างความเสียหายต่อสาย DNA ในเซลล์ต่าง ๆ แม้ว่า ร่างกายมีกลไกซ่อมแซมสาย DNA แต่หากสาย DNA ถูกทำลายในปริมาณมากเกินกว่าความสามารถของร่างกายซ่อมแซมได้ทันเซลล์ที่สาย DNA ถูกทำลายนั้นอาจเจริญต่อไป จนเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) และอาจเกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดต่าง ๆ ได้ในที่สุด ปัจจุบันมีงานวิจัยค้นพบว่า สารสกัดจากเชื้อ Bifidobacteria และเมล็ดถั่วเหลืองช่วยป้องกันเซลล์ผิวจากรังสี UV และมลภาวะ   ต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมสาย DNA ที่ถูกทำลายด้วย

ดังนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน มลภาวะ การใช้ชีวิต ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดผลกระทบต่อเซลล์ผิว ทั้งในแง่ของการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ และการเสื่อมสภาพ นอกจากนี้ ยังมีผลต่อปริมาณเม็ดสีในผิว เพราะเมื่อระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า ไม่เพียงแต่เอนไซม์ tryptase เท่านั้น ที่ถูกหลั่งออกมาทำลายโปรตีนในผิวหนังยังพบ melanogenic mediators ต่าง ๆ เช่น endothelin (ET-1), melanin-stimulating hormone และ neuropeptide ซึ่งกระตุ้น melanocyte ให้สร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น จนกระทั่ง เกิดภาวะ hyperpigmentation ส่งผลให้ผิวหมองคล้ำ สีผิวเข้มขึ้น และจากการที่พบว่า เม็ดสีแพร่กระจายเข้าสู่เซลล์ผิวในชั้นต่าง ๆ และประกอบกับผลการศึกษาที่พบว่า หากเม็ดสีแพร่เข้าไปในเซลล์ต้นกำเนิดชนิด transit amplifying (TA) stem cell จะทำให้เซลล์นั้นหยุดการทำงานไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์อื่น ๆ ได้ TA stem cell ที่เหลืออยู่ จึงต้องทำหน้าที่ให้มากขึ้นเพื่อชดเชย TA stem cell ที่หยุดไปเป็นสาเหตุให้ TA stem cell ที่เหลืออยู่นั้นมีอายุขัยที่สั้งลง เซลล์ผิวมีความอ่อนแอ ส่งผลให้ผิวหนังดูแก่ก่อนวัย เกิดริ้วรอยหมองคล้ำจาก การสะสมของเม็ดสีและเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้ว เนื่องจาก ร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์ผิวใหม่มาผลัดทดแทนได้ทัน ปัจจุบันพบว่า มีสารสกัดจากธรรมชาติหลายชนิดที่สามารถยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีได้ เช่น สารสกัดจากดอกเคซี่ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดภาวะ hyperpigmentation ได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่การยังยั้งการทำงานของ melanogenic mediatior ลดปริมาณและประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ในการสร้างเม็ดสี รวมถึงการขัดขวางการแพร่ของเม็ดสีออกจาก melanocyte เข้าสู่เซลล์อื่น

อนึ่ง ทุกคนล้วนแต่มีความต้องการที่จะรักษาสภาพผิวที่มีสุขภาพดี สมบูรณ์ เยาว์วัยไว้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุเพิ่มขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายย่อมต้องเปลี่ยนไปตามการเจริญเติบโตรวมถึงผิวหนัง ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับมลภาวะสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันนักวิจัยด้านผิวพรรณทั่วโลกให้ความสนใจในสารสกัดจากธรรมชาติที่มี ความสามารถในการปกป้องและดูแลปัญหาผิวด้วยแนวคิดที่ต่างจากเดิม และการพัฒนาวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพผิวที่ดี เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค

ผิวขาวสวยสุขภาพดีนั้น เป็นผลจากพื้นฐานของผิวตามพันธุกรรมและวิธีการดูแลผิวประกอบกัน ไม่ว่าพื้นฐานเป็นเช่นไร หากเราเรียนรู้ที่จะดึงจุดเด่น กลบจุดด้อย ดูแลตัวเองให้สวยจากภายในออกสู่ภายนอก เราทุกคนจะค้นพบความงามในแบบฉบับของตัวเองกันได้ทั้งสิ้น ดังคำกล่าวของดีไซน์เนอร์ชาวอังกฤษชื่อก้องโลกที่ว่า
I think there is beauty in everything.
What ‘normal’ people would perceive as ugly,
I can usually see something of beauty in it.”
Lee Alexander McQueen

 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น