องศาเดือด...ประเทศไทย...ร้อนมาก...
ฤดูร้อนปีนี้ หันไปทางไหนก็มีแต่เสียงบ่นว่าร้อนๆๆๆๆ หลายคนรู้สึกว่า ประเทศไทยปีนี้อากาศร้อนขึ้นมากกว่าปกติ แม้แต่ในกรุงเทพมหานครเองก็ตาม หลายคนเริ่มหันมาเล่นน้ำสงกรานต์ยามค่ำคืนโดยให้เหตุผลว่า ทนแสงแดดจ้าในตอนกลางวันไม่ไหว ขนาดอยู่ในบ้านหรือตัวอาคารต่อให้ลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศลงจนเกือบจะถึงจุดเยือกแข็งแล้วก็ยังได้แค่บรรเทาให้อากาศภายในห้องลดลงเท่านั้นเอง ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าเย็นเลย แต่ถ้าบ้านไหนไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศ ครั้งนี้คงเข้าถึงคำพูดที่ว่า ร้อนตับแลบได้อย่างลึกซึ้ง ระหว่างวันที่นอนตากอากาศอบอ้าวราวกับอยู่ในตู้อบนั้น เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเรารับรู้ถึงความรู้สึก “ร้อน” เรารู้สึกได้อย่างไร?
เพราะมนุษย์เป็นสัตว์เลือดอุ่นซึ่งร่างกายมีความสามารถในการรักษาระดับอุณหภูมิในคงที่อยู่เสมอ
คือ 36.5-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์จะเป็นอิสระกับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมและไม่ผกผันตามสภาพอากาศภายนอกเหมือนเช่นสัตว์เลือดเย็นอื่น
ๆ ดังนั้น แล้ว ไม่ว่าอุณหภูมิภายนอกจะผกผันเพียงใด
ร่างกายของเราจะยังคงรักษาอุณหภูมิไว้ทีเดิมและปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ
เพราะฉะนั้น เมื่ออากาศภายนอกสูงขึ้น หรือต่ำลง
จึงทำให้เรารับรู้ถึงความรู้สึกร้อนและหนาวนั่นเอง
อากาศร้อน ทำให้คนเสียชีวิตได้จริงหรือ??
โดยทั่วไปแล้วอากาศร้อนอาจไม่ได้มีผลโดยตรงกับการเสียชีวิต แต่อาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติบางอย่างเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำ เพราะเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นร่างกายจะมีกลไกอัตโนมัติสั่งการให้มีการระบายความร้อนออกมาในรูปแบบของเหงื่อ ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและยังมีไอเหงื่อที่ระเหยออกมาทางต่อมผิวหนังซึ่งเราไม่สามารถมองเห็น การระบายออกของเหงื่อทั้งสองชนิดนี้จะมีปริมาณมากกว่าปกติ เมื่ออากาศร้อน และการระบายออกในปริมาณที่มากขึ้นนั้นเป็นตัวการทำให้ระดับความเข้มข้นในเลือดและเกลือแร่ในร่างกายเข้มข้นเกินไป จะสังเกตได้จากการที่เรามักจะอยากดื่มน้ำมาก ๆ ในเวลาที่อากาศร้อน นั่นเป็นเพราะร่างกายต้องปรับสภาพสู่สภาวะสมดุลซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติ แต่หากร่างกายมีสภาวะเครียดจะไปกระตุ้นหัวใจให้บีบตัวแรงขึ้นและกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติบางอย่างในร่างกาย ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวทัน จึงทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไปเพียงพอ ในคนปกติหากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันก็สามารถเป็นลมได้เช่นเดียวกัน การเป็นลมไม่ได้ทำให้เราเสียชีวิตได้โดยตรง แต่หากเราเป็นลมแล้วล้มศีรษะกระแทกพื้น หรือเป็นลมระหว่างที่อยู่ในน้ำก็มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้สูงอายุ
วิธีดับกระหายคลายร้อน
อากาศร้อน ๆ มีหลายวิธีดังร้อนไม่ว่าจะเป็นการอยู่ในห้องแอร์เย็น ๆ
เพราะเครื่องปรับอากาศนั้นช่วยปรับสภาพอากาศให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิของเรามากที่สุด
จึงทำให้เรารู้สึกสบายตัว
แต่การอยู่ในห้องแอร์ตลอดทั้งวันทั้งคืนก็ทำให้ผิวแห้งและขาดความชุ่มชื้นได้เช่นกัน
การอาบน้ำเย็นเป็นการนำความเย็นเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย “แตงโม”
ผลไม้ยอดฮิต แตงโมเป็นผลไม้ที่ช่วยรักษาความเย็นในร่างกาย ถ้าแช่เย็นได้ดียิ่งดี
เพราะจะทำให้รู้สึกสดชื่น การพัดหรือเป่าพัดลม เป็นการเป่าเหงื่อบนผิวหนังให้ระเหยออกไปเร็วขึ้น
ทำให้รู้สึกเย็นสบาย ดังนั้น จึงควรคู่ไปกับการดื่มน้ำเย็น ๆ
เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากเหงื่อ นอกจากนี้
การดื่มน้ำเย็นยังช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น
แต่สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัดหรืออ่อนเพลียจากอาการลมแดด
ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัดในทันที เพราะจะทำให้เกิดอาการตะคริวท้อง
ซึ่งเป็นอันตรายมากค่ะ
ทำความรู้จักกับประเภทของครีมกันแดด
- Chemical Sunscreen : มีคุณสมบัติในการดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ในผิว ซึ่งหลังจากโดนแดดเป็นระยะเวลาหนึ่งก็จะเสื่อมสมรรถภาพลง และนี่คือเหตุผลที่ครีมกันแดดบางยี่ห้อระบุวิธีใช้ให้เราต้องทาซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
- Physical Sunscreen : มีส่วนประกอบหลักเป็นสารทึบแสง จึงทำให้แสงไม่สามารถส่งผ่านไปได้ แต่จะถูกสะท้อนออกมา ซึ่งข้อเสียของครีมกันแดดชนิดนี้ ก็คือ ทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทาขาววอกจนเกินไป และในบางครั้งก็ก่อให้เกิดคราบขาวเวลาเหงื่อออกอีกด้วย
- Tanning Sunscreen : เป็นครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติทำให้ผิวคล้ำขึ้น โดยส่วนใหญ่นิยมใช้ในผู้ที่มีผิวขาวที่ต้องการมีผิวสีน้ำตาลแทนอย่างปลอดภัย
กลเม็ดเด็ดวิธีการเลือกใช้ครีมกันแดด
- ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-15.00 น.
- เลือกใช้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA และ UVB
- เลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ในชีวิตประจำวัน และ SPF 30++ ในวันที่ต้องประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง
- เลือกครีมกันแดดชนิดกันน้ำสำหรับกิจกรรมบางชนิด เช่น ว่ายน้ำ พายเรือ โปโลน้ำ โดยสังเกตจากบรรจุภัณฑ์ซึ่งจะมีคำว่า Waterproof ระบุไว้
- ฉีดหรือพ่นผลิตภัณฑ์กันแดดประเภทสเปรย์ซ้ำทุก 30 นาที เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์กันแดดประเภทนี้นั้น สามารถล้างออกได้ง่ายดายด้วยน้ำ และมีประสิทธิภาพความคงทนบนผิวหนังน้อยกว่าชนิดครีมและโลชั่น
- ทาครีมกันแดดในปริมาณที่หนาเพียงพอที่จะปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลต และอย่าลืมทาในบริเวณที่ถูกแสงแดดเผาได้ง่าย เช่น จมูกและท้ายทอย
- ทาครีมกันแดดอย่างน้อย 20-30 นาที ก่อนออกแดด และควรทาซ้ำทุก ๆ 90 นาทีหรือ 2 ชั่วโมง เมื่อต้องการประกอบกิจกรรมกลางแจ้งอย่างต่อเนื่อง
- อ่านฉลากที่ติดอยู่กับบรรจุภัณฑ์ให้ละเอียด ถึงวิธีการใช้และส่วนประกอบของครีมกันแดดนั้น ๆ
- เลือกใช้ครีมกันแดดที่มีสารป้องกัน UVA ได้ดีอย่างน้อย 2 ชนิด ได้แก่ XL Tinosorb M, S Oxybenzone Parsol 1789 TiO2, ZnO Mexoryl SX เป็นต้น
นวพร เอี่ยมธีระกุล
สอบถามครีมกันแดดเพิ่มเติม 0816518088
Website: http://yanincosmetic.com
Email : yanincosmetic@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น