ตู้ยาสามัญประจำบ้านสำคัญอย่างไร
ตู้ยาสามัญประจำบ้านหรือคลังโอสถขนาดย่อมที่ทุกครัวเรือนควรมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ยามป่วยไข้
หรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุเลือดตกยางออก ซึ่งเพื่อน ๆ ควรรู้วิธีการจัดการตู้ยา
และจัดระเบียบตู้ยาอย่างเหมาะสม หากจำเป็นต้องใช้งานจะได้สะดวกปลอดภัย
- คือ ตำแหน่งที่ตั้งตู้ยา ต้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ (อุณหภูมิห้อง 25-30 องศา) แสงแดดส่องไม่ถึง ไม่ร้อนหรือชื้น ไม่วางในห้องน้ำและห้องครัว เพื่อป้องกันยาเสื่อมคุณภาพ ที่สำคัญต้องจัดวางให้สูงเกินกว่าที่เด็กจะเอื้อมหยิบถึง
- นำยาหรือใช้ยาที่มีฉลากระบุรายละเอียดชัดเจนเท่านั้น เช่น ชื่อ ขนาด วัน เดือน ปี ที่ผลิต และวันหมดอายุ คำเตือน และคำสั่งในการใช้ เช่น ห้ามรับประทาน หรือยาใช้ภายนอก
- การจัดวางภายในตู้ยา ควรแยกประเภทของยาให้ชัดเจน เช่น ยารับประทาน ยาทา โดยไม่วางปะปนกันเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการหยิบใช้ ส่วนยาชนิดเดียวกันควรวางที่หมดอายุเร็วกว่าไว้ด้านนอกเพื่อหยิบใช้ก่อน ยาที่หมดอายุช้ากว่า
- หมั่นทำความสะอาดตู้ยาให้มีสภาพพร้อมใช้งานเสมอ ไม่ว่าจะเป็นตัวยาหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะดูวันหมดอายุ กรณีที่ยาหมดอายุแล้วต้องทิ้งทันที ควรเช็คยาหมดอายุ อายุเดือนโดยอาจกำหนดให้วันที่ 1 ของเดือนเป็นวันตรวจเช็ค
นอกจากนี้ ในบ้านเราอาจมีอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถใช้เองได้ที่บ้าน
อาทิเช่น เครื่องวัดความดัน ปรอทวัดไข้ดิจิตอลแบบธรรมดา หรือแบบอินฟาเรส
เครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นต้น
สำหรับวิธีการสังเกตยาหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพ จะมีลักษณะที่พิจารณาได้ง่าย ๆ ดังนี้
- โดยเฉพาะ “ยาเม็ด” นั้น เม็ดยาจะแตกร่วน สีซีดจางลง หรือสีเปลี่ยน
- “ยาเม็ดเคลือบ” จะมีลักษณะเยิ้ม เหนียว ส่งกลิ่นไม่ประสงค์
- “ยาเม็ดแคปซูล” แคปซูลจะบวม พองตัว ติดกัน หรืออาจมีราขึ้นบนเปลือกแคปซูล
- และ “ยาน้ำแขวนตะกอน” อาทิ ยาลดกรด ยาคาลาไมน์ จะจับกันเป็นก้อน นอนก้น แม้เขย่าแรง ๆ ก็ไม่กระจายตัว
- ขณะที่ “ยาน้ำเชื่อม” เกิดตะกอน มีสีและกลิ่นที่เปลี่ยน
- สุดท้าย “ยาครีม” จะสังเกตเห็นเนื้อครีมเปลี่ยนสีและมีกลิ่นเหม็น วิธีดูแลตู้ยาสามัญประจำบ้านง่าย ๆ แค่นี้ หวังว่า เพื่อน ๆ คงจะไม่มองข้ามนะค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น